ISSN 1513-038X (Print)

ISSN xxxx-xxxx (Online)

RSUJET

วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต

https://rsujet.rsu.ac.th

. Vol.16 No.2 , July - December 2013.

การกำหนดเวลามาตรฐานในอุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์โดยใช้เทคนิค MOST: กรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบ

พิษณุ มนัสปิติ, พรรคพงษ์ แก่นณรงค์, ณัฐสิณีนันท์ เพชรล้า, and อิสรา ใหญ่หลวง

Abstract

       งานวิจัยนี้ทำการประยุกต์ใช้การหาเวลามาตรฐานแบบล่วงหน้า (Predetermined Time Study, PTS) กับสายการผลิตแผงวงจรอีเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์จะถูกต่อเข้ากับแผง (Printed Circuit Board, PCB) ทั้งหน้าและหลัง โดยด้านหน้าชิ้นส่วนซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่าจะถูกวางติดกับแผงโดยวิธี Surface Mounted Technology (SMT) ในขณะที่ข้างหลัง (Back End) ชิ้นส่วนที่มักมีขนาดใหญ่กว่าจะถูกนามาติดตั้งโดยการใช้แรงงานคนเป็นหลัก ซึ่งกรรมวิธีที่ทาด้วยมือนี้เองที่ทาให้มีความจำเป็นต้องหาเวลามาตรฐาน (Standard Times) การหาเวลามาตรฐานแบบ PTS มักถูกใช้เป็นทางเลือกของวิธีการจับเวลาโดยตรง (Direct Time Study) เนื่องจากความเที่ยงตรงและสามารถในการให้ผลลัพธ์ล่วงหน้าทันต่อการใช้งาน นอกจากนั้นผลพลอยได้การจัดตั้งเวลามาตรฐานโดย PTS ก็คือวิธีการทำงานของขั้นตอนต่าง ๆ (Work Methods) อย่างน้อยก็อย่างคร่าว ๆ และเป็นแนวทางได้ งานวิจัยนี้ใช้ระบบย่อยที่เรียกว่า “Mini MOST” ซึ่งอยู่ภายใต้ระบบใหญ่ “MOST-Maynard Operation Sequence Technique” ผลจากงานวิจัยแสดงเวลามาตรฐานทีได้จาก PTS เทียบกับที่ได้จากการจับเวลาโดยตรง ซึ่งปรากฏเป็นไปตามคาดที่โดยทั่วไปเวลาจาก PTS มักจะสั้นกว่าเวลาที่จับโดยตรง ในงานวิจัยนี้ผลที่ได้จาก MOST น้อยกว่าการจับเวลาโดยตรงประมาณ 67% การจัดทาเวลามาตรฐานโดย PTS ในครั้งนี้สามารถใช้เวลาไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ถ้าผู้จัดทามีพื้นฐานและมีการตระเตรียมงานที่ดี

Keywords: เวลามาตรฐาน, การจับเวลาโดยตรง, การหาเวลามาตรฐานแบบล่วงหน้า, วิธีการทำงาน

Download Full Paper.