ISSN 1513-038X (Print)

ISSN xxxx-xxxx (Online)

RSUJET

วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต

https://rsujet.rsu.ac.th

. Vol.17 No.1 , January - June 2014.

การพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ร่วมกับเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการผลิตไฟฟ้าให้กับพัดลมในอุโมงค์อบแห้งสำหรับพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

บงกช ประสิทธิ์, สหัถยา ทองสาร 3, and พิสิษฏ์ มณีโชติ

Abstract

       โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพเชิงความร้อน และอัตราการอบแห้งของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ของวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทลัยนเรศวร เครื่องอบแห้งที่ใช้ทดลองประกอบด้วยชุดตัวเก็บรังสีอาทิตย์ชนิดแผ่นเรียบซึ่งประกอบด้วย กระจกใสหนา 3 mm มีพื้นที่รับรังสีเท่ากับ 6.090 cm2 และชุดตู้อบแห้งซึ่งมีห้องอบแห้งทำจากอลูมิเนียม ด้านบนปิดด้วยแผ่นกระจกใส ภายในมีถาดอลูมิเนียม 4 ถาดสาหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ มีพื้นที่ในการอบแห้งทั้งหมดเท่ากับ 5,850 cm2 และมีฮีทเตอร์ขนาด 500 W จำนวน 2 ตัว
       จากการทดลองเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ โดยกำหนดอัตราการไหลของอากาศคงที่เท่ากับ 0.0167 kg/s และมีความเข้มรังสีอาทิตย์เฉลี่ยอยู่ที่ 613.3 W/m2 ชุดตัวเก็บรังสีอาทิตย์ชนิดแผ่นเรียบจะมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนอยู่ในช่วง 47.2%-58.3% เฉลี่ย (51.85%) และอากาศไหลที่เข้าสู่บริเวณชุดตู้อบแห้งจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 12.45 OC โดยอุณหภูมิสูงสุด ณ ตาแหน่งกลางตู้อบแห้งเท่ากับ 51.25 OC เมื่อทาการทดลองอบกล้วยน้าว้า 6.84 kg ความชื้นเริ่มต้นที่ 222.6 % (d.b.) เป็นเวลา 5 วัน วันละ 9 ชั่วโมง พบว่า กล้วยน้าว้ามีความชื้นสุดท้ายเท่ากับ 31.1% (d.b.) คิดเป็นอัตราการอบแห้งเฉลี่ย 4.2% (d.b.) /hr โดยมีอัตราการอบแห้งสูงสุดเท่ากับ 11.9% (d.b.)/hr เครืองอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนรวมเท่ากับ 7.69% ลักษณะรูปร่าง สี และรสชาติของกล้วยน้าว้าหลังจากการอบแห้งนั้น มีลักษณะไม่ต่างจากกล้วยตากที่จำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด โดยค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อหน่วยมวลของน้ำที่ถูกระเหยสาหรับการอบแห้งกล้วยน้าว้าเท่ากับ 4.07 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเปลี่ยนมาใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าแทนระยะคืนทุนค่าใช้จ่ายพลังงานอยู่ที่ 3.8 ปี

Keywords: เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์, เซลล์แสงอาทิตย์

Download Full Paper.