ISSN 1513-038X (Print)

ISSN xxxx-xxxx (Online)

RSUJET

วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต

https://rsujet.rsu.ac.th

. Vol.17 No.2 , July - December 2014.

การศึกษาการออกแบบและสร้างไซโคลนสาหรับเตาชีวมวลแบบอากาศไหลลง

พิพัฒน์พงศ์ วัฒนวันยู, อาภากร วัฒนะ, and เกรียงศักดิ์ เวชเตง

Abstract

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการออกแบบและสร้างไซโคลน สำหรับใช้ในการดักจับอนุภาคที่ได้จากการเผาไหม้โดยเตาชีวมวลแบบอากาศไหลลง โดยใช้สัดส่วนมาตรฐานการออกแบบไซโคลนชนิด High Efficiency ของ Stairmand ร่วมกับการจำลองพฤติกรรมการไหล (CFD) ของก๊าซภายในไซโคลน จากการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของไซโคลน ที่ใช้ข้อไผ่พันธุ์ซางหม่นและไม้ลำไย เป็นเชื้อเพลิง ที่ค่าความเร็วก๊าซขาเข้าที่ 1.8, 2.0, 2.2, 2.4, 2.6, 2.8, 3.0, 3.2, 3.4, 3.6, 3.8 และ 4.0 m/s ตามลาดับ พบว่าที่ความเร็วก๊าซขาเข้า เท่ากับ 3.0 m/s ไซโคลนมีประสิทธิภาพการดักจับอนุภาคของขี้เถ้าไม้ไผ่อยู่ที่ 98.98% และของไม้ลำไยอยู่ที่ 90.79% ซึ่ง ณ. ความเร็วจุดนี้ ไซโคลนมีประสิทธิภาพการดักจับอนุภาคได้ดีที่สุด ซึ่งที่ความเร็วก๊าซขาเข้านี้เป็นช่วงที่ความหนาแน่นของอนุภาค, จำนวนรอบในการหมุน (Main vortex) ของก๊าซภายในไซโคลนที่เหมาะสม ซึ่งทราบจากการจำลองพฤติกรรมการไหลของก๊าซและเป็นระยะที่อนุภาคสามารถตกลงสู่ตัวกักเก็บ (Hopper) ดีที่สุด จากการติดตั้งไซโคลนกับเตาชีวมวล พบว่าที่ความเร็วก๊าซขาเข้าไซโคลนช่วง 3.0 – 4.0 m/s ก๊าซที่ออกมาจากไซโคลนสามารถจุดติดและมีเปลวไฟลักษณะสีฟ้าซึ่งเป็นสีของเปลวไฟที่ให้ความร้อนสูง ซึ่งเหมาะแก่การนาไปใช้งาน

Download Full Paper.