ISSN 1513-038X (Print)

ISSN xxxx-xxxx (Online)

RSUJET

วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต

https://rsujet.rsu.ac.th

. Vol.18 No.2 , July - December 2015.

การศึกษาวัฏจักรชีวิตของเชื้อเพลิงชีวภาพที่ใช้ในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล

ดรุณี สิงห์คะนอง, ภานุรุจ บุญทองงาม, มณี กาญจนกรหิรัญ, and ประพิธาริ์ ธนารักษ์

Abstract

       ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้เริ่มให้ความสนใจในการเพิ่มกาลังการผลิตรถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซล, แก๊สโซฮอล์) มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากวิกฤตการณ์ความผันผวนของราคาน้ามันในตลาดโลก อีกทั้งภาครัฐเองได้มีนโยบายการส่งเสริมและผลักดัน ให้ผู้ประกอบการยานยนต์เพิ่มสัดส่วนการผลิตรถยนต์ที่สามารถใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้น โดยการใช้มาตรการทางด้านภาษี และกลยุทธ์เพื่อจูงใจผู้ประกอบการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลดผลกระทบจากปรากฏการณ์สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming)

       เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้หลักการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์ โดยนำหลักการประเมินวัฎจักรช่วงชีวิตของต้นทุนผู้บริโภค (Consumer Life Cycle Cost Analysis :CLCCA), การประเมินวัฎจักรชีวิตของต้นทุนทางสังคม (Societal Life Cycle Cost Analysis : SLCCA), มาตรการทางภาษี (Tax) เป็นกลไกในการประเมินผลประโยชน์ต้นทุน (Cost Benefit Analysis : CBA) มาใช้ในการวิเคราะห์ ประเมินและอธิบายเกี่ยวกับความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเชื้อเพลิงชีวภาพที่ใช้ในรถยนต์ผลการศึกษาโดยการใช้ต้นแบบในการประเมินผลประโยชน์ต้นทุนของเชื้อเพลิงชีวภาพ ระหว่างน้ามันไบโอดีเซลกับน้ามันแก๊สโซฮอล์ ที่ใช้กับรถยนต์รุ่นที่ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยพบว่า ถึงแม้ว่าเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีสัดส่วนสูงจะมีผลกระทบต่ออายุการใช้งานของเครื่องยนต์ อีกทั้งยังส่งผลต่อความเสียหายของชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ อย่างไรก็ตามแต่ เมื่อพิจารณาถึงสวัสดิการสูงสุดของสังคม และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางด้านระบบพลังงานควบคู่กันไป อาจทำให้ผู้ประกอบการยานยนต์ไทยเพิ่มสัดส่วนการผลิตรถยนต์ ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ในสัดส่วนที่สูงขึ้นได้เช่นกัน

Keywords: ไบโอดีเซล, แก๊สโซฮอล์, เชื้อเพลิงชีวภาพ, ผลประโยชน์ต้นทุน, ประเมินวัฎจักรชีวิต

Download Full Paper.