ISSN 1513-038X (Print)

ISSN xxxx-xxxx (Online)

RSUJET

วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต

https://rsujet.rsu.ac.th

. Vol.19 No.2 , July - December 2016.

การศึกษาเชิงทดลองหาสมรรถนะการยกโหลดเชิงสถิตศาสตร์สำหรับรถราฟเตอเรนเครน

สุเมธ หนูฉิม and ต่อศักดิ์ อุทัยไขฟ้า

Abstract

       จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับเครนชนิดเคลื่อนที่ที่ได้มีการบันทึกไว้โดย องค์กรด้านความปลอดภัยของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ( OSHA) หนึ่งในสาเหตุนั้นคือการพลิกคว่า (Tip Over) เนื่องจากยกโหลดเกินรัศมีการยก (Working. Radius) บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมรรถนะเชิงสถิตศาสตร์การใช้งานของรถราฟเตอเรนเครน ซึ่งเป็นสาเหตุของการพลิก คว่ำ ในการทดลองได้กาหนดโหลดออกเป็นสี่ค่าคือ 4,150 กิโลกรัม 8,275 กิโลกรัม 10,370 กิโลกรัม และ 12,460 กิโลกรัม โดยกำหนดให้ตัวแปรควบคุมคือมุมกวาดแขนเครน (Boom Swing Angle) และกำหนดให้ความกว้างขาเครน (Outriggers Extended) เป็นพารามิเตอร์ มุมกวาดแขนเครนจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นสามค่าคือมุม 0˚ 45˚ และ 90˚ โดยกำหนดให้ความกว้างขาเครนตามแนวขวางตัวรถ (Transverse Frame) เป็นสี่ค่าคือ 3.8 เมตร 5 เมตร 6 เมตร และ 6.6 เมตร และพารามิเตอร์ที่เหลืออีกหนึ่งตัวคือรัศมีขาเครนตามแนวยาวตัวรถ (Longitudinal Frame) ถูกกำหนดให้มีค่าเดียวคือ 3.34 เมตร จากการทดลองที่กำหนดความกว้างขาเครนสั้นสุดเป็น 3.8 เมตร โดยมุมกวาดแขนเครนเริ่มต้น 0˚ พบว่าตัวแปรสำคัญที่ทาให้รัศมีการยกลดลงคือโหลด โดยรัศมีการยกลดลงจาก 12.9 เมตร เป็น 7 เมตร เมื่อโหลดเพิ่มขึ้นจาก 4,150 กิโลกรัม เป็น 12,460 กิโลกรัมตามลาดับ และที่มุมกวาดแขนเครน 45˚ กับมุม 90˚ ค่าที่ได้มีขนาดใกล้เคียงกัน เมื่อพิจารณาเฉพาะมุม 90˚ รัศมีการยกลดลงจาก 7.8 เมตร เหลือ 4.2 เมตร เมื่อโหลดเพิ่มขึ้นจาก 4,150 กิโลกรัม เป็น 12,460 กิโลกรัม ตามลำดับ สาหรับกรณีที่กำหนดให้ความกว้างขาเครนยาวสุด 6.6 เมตร ที่ทุกมุมกวาดไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่โหลดยังมีผลต่อรัศมีการยกเช่นเดิม โดยที่รัศมีการยกมีค่าลดลงจาก 12.9 เมตร เป็น 7 เมตร เมื่อโหลดเพิ่มขึ้นจาก 4,150 กิโลกรัม เป็น 12,460 กิโลกรัม ตามลาดับ เมื่อนาผลการทดลองมาเปรียบเทียบกับโหลดชาร์ทมาตรฐาน (Standard Load chart) พบว่าที่ความกว้างขาเครนที่มีค่าต่าง ๆ ค่าที่ได้จากการทดลองกับค่าที่ได้จากโหลดชาร์ทมาตรฐานจะมีค่าที่ใกล้เคียงกันเฉพาะที่มุมกวาด 45˚ และ 90˚ เท่านั้น แต่ที่มุม 0˚ จะมีค่าผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก และที่ความกว้างขาเครนที่มีค่าสูง ๆ ค่าที่ได้จากการทดลองกับค่าที่ได้จากโหลดชาร์ทมาตรฐานจะมีค่าใกล้เคียงกันทุกมุมกวาด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทาให้ทราบถึงค่ารัศมีการยก (Working Radius) ที่ปลอดภัยสาหรับการใช้โหลดขนาดต่าง ๆ

Keywords: สมรรถนะการยก, รัศมีการยก, ราฟเตอเรนเครน, โหลดเชิงสถิตศาสตร์, โหลดชาร์ทมาตรฐาน

Download Full Paper.