ISSN 1513-038X (Print)
ISSN xxxx-xxxx (Online)
RSUJET
วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต
https://rsujet.rsu.ac.th
. Vol.26 No.1 , January - June 2023.
ต้นแบบโรงเรือนช่วยปลูกพืช
เอกณรงค์ ใจยงค์, วรีรัตน์ ลายทอง, มณฑา สิงหเสนี, and ชนัฏตา สินธนพงษ์
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างระบบควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และแสงสว่างสำหรับโรงเรือนปลูกต้นไม้ขนาด กว้าง × ยาว × สูง เท่ากับ 650 × 650 × 940 mm โครงสร้างทำจากท่อ PVC ขนาด 1 in ผนังทุกด้านถูกคลุมด้วยพลาสติกความหนา 150 µm โรงเรือนถูกออกแบบให้มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ภายในมีแผ่นอะคริลิกสำหรับวางต้นไม้อยู่บริเวณด้านล่างของโรงเรือน ด้านหน้าและด้านหลังของโรงเรือนถูกเจาะรูและติดพัดลมไฟฟ้าเพื่อระบายอากาศ บริเวณหลังคาติดตั้งม่านที่สามารถปรับแสงที่เข้าสู่โรงเรือนได้ ภายในโรงเรือนติดตั้งระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติและชุดควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์อาศัยบอร์ด XH-M452 ทำงานร่วมกับพัดลมขนาดเล็ก โรงเรือนมีเครื่องพ่นหมอกเพื่อควบคุมความชื้น การควบคุมการรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติอาศัยเซนเซอร์วัดความชื้นในดินส่งสัญญาณแอนะล็อกไปประมวลผลที่บอร์ด Arduino UNO R3 เมื่อสัญญาณถูกตรวจวัดตามเงื่อนไขจะสั่งรีเลย์ปั๊มน้ำไปรดน้ำต้นไม้ สำหรับการควบคุมแสงสว่าง อาศัยเซนเซอร์วัดแสงภายในโรงเรือนทำงานร่วมกับบอร์ด XH-M131 ขับมอเตอร์เพื่อควบคุมการเปิด-ปิดม่านที่ถูกติดตั้งบนหลังคา การทดลองการเพาะปลูกจะแบ่งออกเป็น 2 ชุด ทำการเพาะปลูกบริเวณเดียวกัน โดยชุดที่ 1 เป็นการเพาะปลูกภายในโรงเรือน จะบันทึกการเจริญเติบโตของพืชด้วยการวัดความสูงของต้นพืช บันทึกอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือน บันทึกความชื้นภายในดิน และความเข้มของแสงภายในโรงเรือน สำหรับชุดที่ 2 เป็นการเพาะปลูกแบบธรรมชาติภายนอกโรงเรือน จะบันทึกข้อมูลเหมือนชุดที่ 1 โดยติดตั้งเซนเซอร์ต่าง ๆ ภายนอกโรงเรือน ประสิทธิภาพของโรงเรือนจะถูกอธิบายด้วยผลการเจริญเติบโตของพืชทั้ง 2 ชุด ผลการทดลองที่ได้พบว่า พืชภายในโรงเรือนมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่า และลดเวลาการเพาะปลูกได้ 24 % เมื่อเที่ยบกับการเพาะปลูกภายนอกโรงเรือน
Keywords: โรงเรือนปลูกต้นไม้, Arduino UNO R3, ความชื้นสัมพัทธ์, อุณหภูมิ, แสงสว่าง