ISSN 1513-038X (Print)
ISSN xxxx-xxxx (Online)
RSUJET
วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต
https://rsujet.rsu.ac.th
. Vol.26 No.2 , July - December 2023.
การวิเคราะห์การใช้พลังงานและคาดการณ์ผลประหยัดพลังงาน กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลสระบัว จังหวัดปราจีนบุรี
ญาณวุฒิ สุพิชญางกูร, อรรถพล สัตตสุริยะเดช, and คุณากร เมฆชอุ้ม
Abstract
อาคารเทศบาลตำบลสระบัว จังหวัดปราจีนบุรี เป็นอาคารสำนักงานของภาครัฐตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจำนวน 1 อาคารเป็นกรณีตัวอย่างในการวิเคราะห์และประเมินการใช้พลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้งจัดทำมาตรการการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในปีพ.ศ. 2562 - 2563 และวิเคราะห์คาดการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2564-2567 ด้วยสมการพยากรณ์การใช้พลังงานและสมการพยากรณ์ผลประหยัดพลังงานไฟฟ้า ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้อุปกรณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคาร โดยมีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ที่ระบบปรับอากาศร้อยละ 43.53 และระบบแสงสว่างร้อยละ 18.73 และระบบอื่นๆ ร้อยละ 37.74 สาเหตุหลักในการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง คือ อุปกรณ์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพต่ำ,อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี และขาดการบำรุงรักษา และสามารถวิเคราะห์หามาตรการที่เหมาะสมเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า จำนวน 3 มาตรการ โดยสามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าลดลง 15,442.5 kWh/ปี คิดเป็นร้อยละ 14.09 เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานไฟฟ้าปกติ ซึ่งมาตรการด้านระบบแสงสว่าง คือ การเปลี่ยนมาใช้หลอด LED สามารถลดค่ากำลังไฟฟ้าลงได้ 25.4 W/ชุด คิดเป็นร้อยละ 58.39 ของหลอดชนิดเดิม มีระยะเวลาคืนทุน 2.44 ปี ส่วนมาตรการด้านระบบปรับอากาศ คือมาตรการลดเวลาใช้เครื่องปรับอากาศ 1 hr/day สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 69,253.3 kWh/ปี คิดเป็นร้อยละ 63.22 ของการไม่ดำเนินมาตรการ และการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ระบายความร้อนด้วยอากาศ สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 4,069.7 kWh/ปี คิดเป็นร้อยละ 3.72 จากการไม่บำรุงรักษา จากการพยากรณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าและผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2564 - 2567 ตามมาตรการที่กำหนด และจากสมการพยากรณ์ที่พัฒนาขึ้นโดยการวิเคราะห์ผลการใช้พลังงานไฟฟ้า ในปีพ.ศ. 2562 - 2563 ผลการศึกษาพบว่า สมการมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างค่าไฟฟ้าจริงกับค่าไฟฟ้าที่พยากรณ์เท่ากับ 1.94 % และค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยสัมบูรณ์เท่ากับ 9.49 % และถ้าเทศบาลมีการดำเนินมาตรการทั้ง 3 มาตรการ พบว่า สมการพยากรณ์ผลประหยัดการใช้พลังงานมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างค่าไฟฟ้าที่ดำเนินมาตรการกับค่าไฟฟ้าที่พยากรณ์เท่ากับ 2.38 %และค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยสัมบูรณ์เท่ากับ 9.59 %
Keywords: การใช้พลังงาน, พยากรณ์, ประหยัดพลังงาน, สระบัว