ISSN 1513-038X (Print)

ISSN xxxx-xxxx (Online)

RSUJET

วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต

https://rsujet.rsu.ac.th

. Vol.27 No.1 , January - June 2024.

การศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง กรณีศึกษา บริษัทเพชรชมภูปิโตรเลียม จำกัด

เบญจพร กัลยาประสิทธิ์ and นันทิ สุทธิการนฤนัย

Abstract

    บริษัท เพชรชมภูปิโตรเลียม จำกัด ประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ปัจจุบันบริษัทใช้บริการบริษัทขนส่งภายนอกขนส่งสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิง จากคลังน้ำมันสระบุรีมายังสถานีบริการน้ำมัน พบว่าค่าใช้จ่ายการขนส่งน้ำมันในปี พ.ศ. 2565 มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งเท่ากับ 1,894,860 บาท วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้ 1.ศึกษาต้นทุนการขนส่งสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างการดำเนินการขนส่งเองและการจัดจ้างขนส่งภายนอก 2.ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถขนส่งน้ำมันของบริษัทเอง 3.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งสินค้าให้กับองค์กร การศึกษานี้ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-Even Point Analysis) และ ทฤษฎีต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ Make or Buy Decision ในการช่วยวิเคราะห์ต้นทุนและการตัดสินใจ จากการศึกษาพบว่าการขนส่งน้ำมันโดยใช้รถบรรทุกน้ำมันขนาด 18,000 ลิตร บริษัทกรณีศึกษาใช้บริการบริษัทขนส่งภายนอกในการขนส่งน้ำมันให้เฉลี่ย 31 รอบต่อเดือน ในปี 2565 มีต้นทุนลิตรละ 0.29 บาทต่อลิตร หากบริษัทดำเนินการขนส่งเองในจำนวนรอบการขนส่งที่เท่ากัน 31 รอบต่อเดือน กรณีบริษัทลงทุนซื้อรถบรรทุกน้ำมันใหม่และประกอบถังบรรทุกใหม่จะมีต้นทุนเท่ากับ 0.33 บาทต่อลิตร กรณีที่บริษัทลงทุนซื้อรถบรรทุกน้ำมันมือสองมีต้นทุนเท่ากับ 0.30 บาทต่อลิตร และหากบริษัทต้องการลดต้นทุนค่าขนส่งให้น้อยกว่าหรือเท่ากับการขนส่งโดยบริษัทภายนอก บริษัทต้องทำการขนส่ง 59 รอบต่อเดือนในกรณีลงทุนซื้อรถน้ำมันและประกอบถังบรรทุกใหม่ และ 37 รอบต่อเดือนในกรณีบริษัทลงทุนรถน้ำมันมือสอง ทั้งสองกรณีมีจำนวนรอบขนส่งที่มากกว่าปัจจุบัน บริษัทจึงไม่สามารถลดต้นทุนโดยการขนส่งด้วยการลงทุนซื้อรถของบริษัทเองได้ หากบริษัทต้องการลดต้นทุนการขนส่ง บริษัทต้องจัดหาบริษัทขนส่งภายนอกที่มีต้นทุนถูกการขนส่งต่ำกว่าผู้ให้บริการรายปัจจุบัน ผู้ศึกษาได้เสนอแนะบริการรถขนส่งน้ำมันของคลังน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) ซึ่งมีราคาต้นทุนต่ำกว่าผู้ให้บริการรายปัจจุบัน 0.01 บาทต่อลิตร ราคาต้นทุนการขนส่งต่อลิตรเท่ากับ 0.28 บาท  การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งจากการศึกษานี้ ผู้ศึกษานำเสนอการจดบันทึกข้อมูลสถิติในการขนส่งเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในอนาคต จัดทำการประเมินขนส่งภายนอกเพื่อปรับปรุงคุณภาพและพัฒนาการขนส่ง พิจารณาการใช้บริการขนส่งภายนอกรายใหม่เพื่อลดความเสี่ยง ติดตั้งGPSและกล้องบริเวณรถเพื่อป้องกันการทุจริตของพนักงานขับรถ

Keywords: ต้นทุน, การขนส่ง, การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน, บริษัทขนส่งภายนอก

Download Full Paper.