ISSN 1513-038X (Print)
ISSN xxxx-xxxx (Online)
RSUJET
วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต
https://rsujet.rsu.ac.th
. Vol.27 No.2 , July - December 2024.
การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานในแผนกการจัดส่งสินค้าทางเรือขาออกของธุรกิจ Freight Forwarder กรณีศึกษา บริษัท RRR Logistics จำกัด
นาตาชา พวงมณี and ปิยะเนตร นาคสีดี
Abstract
บทความวิจัยในเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานในแผนกการจัดส่งสินค้าทางเรือขาออกของธุรกิจตัวกลางขนส่งระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานที่มีความล่าช้าซ้ำซ้อนและความผิดพลาดจากการทำงานและทำให้เกิดค่าใช้จ่าย ในส่วนของปัญหาในกระบวนการทำงานล่าช้าซ้ำซ้อนนั้นเกิดจากมีบางขั้นตอนใช้เวลามากเกินไปและบางขั้นตอนที่ทำงานทับซ้อนกันหรือบางขั้นตอนมีบางกิจกรรมที่ไม่เกิดความจำเป็น ซึ่งทำให้ส่งผลในเรื่องของเวลาในการให้บริการลูกค้า ส่วนของปัญหาความผิดพลาดจากการดำเนินงานและทำให้เกิดค่าใช้จ่าย สาเหตุเกิดจากมีการทำงานที่กดดันในเรื่องของเวลาและค่าปรับจากผู้ให้บริการในการส่งเอกสาร และขั้นตอนการจัดเก็บงานของพนักงานจนทำให้ทำไม่ทันเวลาและเกิดค่าปรับจากผู้ให้บริการ ผลจากการวิจัยพบว่าปัญหาในส่วนกระบวนการทำงานที่มีความล่าช้าซ้ำซ้อนมีขั้นตอนและกิจกรรมที่ลดลงโดยการนำแนวคิด ECRS คือแนวคิดที่ช่วยลดขั้นตอน/รวมขั้นตอน และตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก ดังนี้ การกำจัด การรวม การจัดใหม่ และการทำให้ง่าย มีทั้งหมด 5 ขั้นตอนที่ลดทั้งเวลาและขั้นตอนหลังจากนำแนวคิด ECRS มาใช้ลดเวลาและขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอนแล้วนั้น จากเดิมใช้เวลาเฉลี่ยรวมทั้ง 5 ขั้นตอนอยู่ที่ 6,376.2 นาที ลดลงเหลือ 4,352.41 นาที เวลาที่ลดลงไปทั้งหมดอยู่ที่ 2,023.79 นาทีหรือเฉลี่ยที่ 46.12% ส่วนของปัญหาความผิดพลาดจาการทำงานทำให้เกิดค่าใช้จ่ายนั้นลดลงและค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่ลดลงไปด้วยนั้นเกิดจากการพัฒนา Excel Export Tracking เข้ามาช่วยในการทำงาน เป็นเครื่องมือในการช่วยบันทึกและช่วยในการเตือนเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายจากสายเรือที่เกิดจากความล่าช้าหรือการแก้ไขเอกสารหลังเวลาที่กำหนด หลังจากนำ Excel Export Tracking เข้ามาช่วยระยะเวลาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 66 - ก.พ. 67 ผลที่ได้คือสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ โดยค่าใช้จ่ายจากเดิมอยู่ที่ 54,830 บาท ลดลงเหลือ 21,480 บาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ลดลงอยู่ที่ 33,350 บาทคิดเป็น 60.82% ส่วนความผิดพลาดจากเดิมอยู่ที่ 37 ครั้ง ลดลงเหลือ 14 ครั้ง ดังนั้นจำนวนครั้งความผิดพลาดลดลงอยู่ที่ 23 ครั้งคิดเป็น 62.16 %
Keywords: การขนส่งระหว่างประเทศทางเรือ