ISSN 1513-038X (Print)

ISSN xxxx-xxxx (Online)

RSUJET

วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต

https://rsujet.rsu.ac.th

. Vol.27 No.2 , July - December 2024.

การออกแบบระบบดูดไอระเหยไฮโดรเจนคลอไรด์ในกระบวนการทำความสะอาดผิวลวดเหล็กแรงดึงสูง

ญาณวุฒิ สุพิชญางกูร, สุวิทย์ มาตรสงคราม, ปิยพัฒน์ สุขเกษม, and และ BUNCHHUN PHANG

Abstract

      ระบบการผลิตลวดเหล็กแรงดึงสูง ในส่วนกระบวนการชุบเหล็กจะเกิดไอระเหยของกรดไฮโดรคลอริกทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เนื่องจากอัตราการไหลและความดันที่หัวดูดอากาศและระบบผลักอากาศมีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐาน จึงมีความจำเป็นในออกแบบและพัฒนาหัวดูดอากาศและหัวผลักอากาศไอระเหยไฮโดรเจนคลอไรด์ใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐานของระบบระบายอากาศของโรงงานอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา การวิจัยครั้งนี้ ได้เลือกบ่อชุบโลหะเพื่อวิเคราะห์ค่าอัตราการไหลของอากาศ,ความดันสถิต และพลังงานที่ต้องใช้กับหัวดูดอากาศและระบบผลักอากาศ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลของระบบระบายอากาศที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลของระบบระบายอากาศที่ออกแบบใหม่

      ผลจากการวิจัยระบบระบายอากาศที่ใช้งานในปัจจุบันและระบบระบายอากาศที่ออกแบบใหม่ พบว่าอัตราการไหลระบบดูดอากาศที่ออกแบบใหม่เท่ากับ 7.04 m3/s มีค่าสูงกว่าอัตราการไหลระบบดูดอากาศที่ใช้งานในปัจจุบันใหม่เท่ากับ 2.86 m3/s และอัตราการไหลระบบผลักอากาศที่ออกแบบใหม่เท่ากับ 0.29 m3/s มีค่าสูงกว่าอัตราการไหลระบบผลักอากาศที่ใช้งานในปัจจุบันเท่ากับ  0.16 m3/s ส่งผลทำให้อัตราการไหลระบบดูดอากาศดีขึ้นเนื่องจากมีพื้นที่หน้าตัดของช่องผ่านอากาศภายในหัวดูดอากาศ และความเร็วลมช่องผ่านอากาศมีค่าสูง ส่งผลให้ระบบดูดอากาศสามารถมีแรงดึงสารปนเปื้อนที่ถูกดันมาจากหัวผลักอากาศ และทำให้อัตราการไหลระบบผลักอากาศดีขึ้น เนื่องจากมีพื้นที่หน้าตัดของช่องผ่านอากาศภายในหัวผลักอากาศและความเร็วลมช่องผ่านอากาศมีค่าสูง จะสามารถทำให้มีการเพิ่มกระแสอากาศนำพาสารปนเปื้อนไปยังหัวดูดอากาศได้ง่ายและเร็วขึ้น ส่วนพลังงานที่ต้องใช้ในระบบดูดอากาศในปัจจุบันมีการใช้ปริมาณพลังงานที่เท่ากับ 20.28 kW สูงกว่าปริมาณพลังงานที่ต้องการใช้ในระบบดูดอากาศที่ดำเนินการออกแบบใหม่เท่ากับ 19.09 kW  คิดเป็น 5.87% และพลังงานที่ต้องใช้ในระบบผลักอากาศในปัจจุบันมีการใช้ปริมาณพลังงานที่ เท่ากับ 0.91 kW สูงกว่าปริมาณพลังงานที่ต้องการใช้ในระบบผลักอากาศที่ดำเนินการออกแบบใหม่เท่ากับ 0.45 kW คิดเป็น 50.55% ดังนั้นระบบดูดอากาศและผลักอากาศที่ออกแบบใหม่สามารถประหยัดพลังงานในระบบ สรุปได้ว่าการวิจัยและออกแบบหัวดูดอากาศและระบบผลักอากาศของการระบายไอระเหยไฮโดรเจนคลอไรด์ในกระบวนการล้างผิวลวดโลหะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบและติดตั้งของอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ ได้

Keywords: ออกแบบ, ระบบดูด, ไอระเหย, ไฮโดรเจนคลอไรด์, กระบวนการทำความสะอาดผิวลวดเหล็ก

Download Full Paper.